เจาะลึก “พิธีลงนะ” เสริมเมตตามหานิยม คืออะไร- มาจากไหน-

เว็บไซต์ พญาครุฑ ดอทคอม ระบุว่า การลงนะ หรือ การลงนะหน้าทอง เป็นศาสตร์ที่สืบทอดกันมามากกว่า 100 ปี จัดเป็นวิชาชั้นสูงที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธคุณ ทำให้ผู้ที่ได้รับการลงนะหน้าทอง เปรียบเสมือนผู้มีบุญญาธิการ มีผู้คนเมตตาอุปถัมภ์ค้ำจุน เป็นที่รักใคร่ โดยมีที่มาตามลัทธิพราหมณ์ สืบเนื่องจากวรรณคดี “เรื่องรามเกียรติ์” ที่กล่าวถึง “พระลักษณ์” ในเรื่องรามเกียรติ์ ว่าผู้มีศักดิ์เป็นน้องของพระราม และยังมีรูปกายเป็นสีทองสง่างามคำพูดจาก สล็อต777

เปิดความหมาย "ปีชง" คืออะไร? ทำไมต้องไหว้แก้? พร้อมเช็กปีชง 2567

"วันมงคลมหาโชค" มีนาคม 2567 เช็กวันดี-วันแห่งความสำเร็จตลอดปี

“วันเด็ก 2567” รวมพิกัดประกันสุขภาพ-อุบัติเหตุสำหรับเด็กน้อย

เป็นที่รักของทั้งมนุษย์และเทวดา และด้วยคุณลักษณะของพระลักษณ์ดังกล่าว ต่อมาได้ถือเป็นคติในการสร้างวิชาสายเมตตามหานิยม และมหาเสน่ห์

สำหรับพิธีลงนะหน้าทองในสมัยโบราณ ต้องสักหมึกลงไปในผิวหนังบนขม่อมเป็นอักษรขอม โดยคำว่า “นะ” ประกอบด้วยคาถา คือ นะ โม พุท ธา ยะ อุ จันท์ สูญญ์ ณะ แต่ละตัวต้องถูกปลุกเสกให้มีชีวิตขึ้นมาในขณะสัก

และเมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้จริงๆ ก็ต้องปลุกขึ้นมาอีกครั้ง การเขียนอักขระต่าง ๆ ตามรูปยันต์ที่สักเขียนด้วยแป้งผัดหน้า โดยเขียนใส่ฝ่ามือแล้วผัดหน้าและชักสังวาล 1 ครั้ง โดยเอามือขวาแตะไหล่ซ้ายและมือซ้ายแตะไหล่ขวาลูบไขว้กันลงมาถึงชายโครง ก่อนที่จะออกจากบ้าน

ส่วนการเรียก “นะหน้าทอง” นั้น มาจากที่มีการใช้ทองคำเปลวบริสุทธิ์ (ซึ่งถือว่าเป็นของสูง) มาลงที่ใบหน้าทำให้มีสง่าราศี รวมถึงอักขระที่ลงมีสูตรการเรียกเฉพาะตนว่า “ตัวนะหน้าทอง” รวมไปถึงยันต์ที่ลงก็จะมีสูตรถือเป็นเคล็ดของครูบาอาจารย์แต่ละท่านไม่เหมือนกัน

สาเหตุเหตุที่ต้องใช้ทองในการลงนะหน้าทองนั้น มาจากวิชาโบราณที่มีการใช้“ธาตุทอง”เป็นตัวลง ซึ่งธาตุทองเป็นธาตุที่มีความเป็นสิริหรือแสงสว่างในตัว โดยตามธรรมชาติ ธาตุทองจะซึมซับเอาสิริหรือแสงสว่างจากพระอาทิตย์และพระจันทร์ไว้ในตัว ซึ่งในการลงนะหน้าทองสามารถใช้แผ่นทองคำแท้ จำนวน 3, 5, 9 ถึง 108 แผ่น แล้วแต่ความพอใจ

จุดที่นิยมลงนะหน้าทอง มีด้วยกัน 9 ตำแหน่ง ดังนี้

  1. หน้าผาก: จุดที่นิยมมากที่สุด ถือเป็นจุดสำคัญของใบหน้าโดดเด่นที่สุด จึงถือว่าเป็นที่รวมสิริทั้งปวง
  2. เปลือกตา หรือใต้ตา : เชื่อว่าในยามที่สบตาหรือกะพริบตา จะทำให้ผู้ที่พบเห็นรู้สึกนึกรักและเป็นที่นิยมพอใจในตัวเรา
  3. แก้ม: เป็นจุดตามวิชาพรหมสี่หน้า (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) มีคุณในเรื่องความเมตตาที่ประเสริฐ
  4. กราม :จุดนี้เพื่อเกิดความน่าเชื่อถือในการพูด
  5. ลิ้น: จุดที่นิยมอีกหนึ่งจุด เพื่อให้เจรจาเป็นที่น่าเชื่อถือ พูดจาเป็นที่รัก วาจาน่าพอใจ
  6. กระหม่อม: พราหมณ์ถือว่ากระหม่อมเป็นจุดเข้าออกของปราณพลังชีวิต เป็นที่สถิตของเทวดา
  7. ติ่งหูสองด้าน: เชื่อว่าเป็นที่สถิตของวิญญาณ นิยมลงเพื่อเชิญบารมีเทวดารักษาให้อายุมั่นขวัญยืน
  8. คาง: เป็นจุดที่ต่ำที่สุดของใบหน้า ลงเพื่อความมั่นคง เป็นที่เคารพยำเกรง
  9. ท้ายทอย : เพื่อเป็นที่รักแม้ยามมองจากด้านหลัง

ขอบคุณข้อมูลจากพญาครุฑ ดอทคอม

เปิดสถิติหวยออกงวดวันที่ 17 มกราคม หวยวันครู ย้อนหลัง 15 ปี

มอเตอร์เวย์ M6 เปิดให้ใช้ฟรีตลอดปี 2567 เก็บค่าผ่านทางปี 2568

โปรแกรมฟุตบอลเอเชียน คัพ 2023 รอบแรก นัดแรก 13 ม.ค 67

 เจาะลึก “พิธีลงนะ” เสริมเมตตามหานิยม คืออะไร- มาจากไหน-

You May Also Like

More From Author