ลุยขยาย 4 เลน ทล.2256 “ปางโก-กุดม่วง” วงเงิน 1,650 ล้าน เพิ่มสะดวก

รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า ในปีงบประมาณ 66 ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงหมายเลข 2256 ตอนปางโก-กุดม่วง เริ่มต้นที่ กม.39+088 ต่อเขต จ.ลพบุรี บริเวณ บ.ปางโก ไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่ กม.77+033 บ.กุดม่วง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ระยะทาง 37.945 กิโลเมตร (กม.) งบประมาณ 1,650,000,000 บาท เริ่มสร้างในปี 66 แล้วเสร็จปี 70 ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี

โดยจะขยายช่องจราจร จากปัจจุบันมีขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ เป็น 4 ช่องจราจร ไป-กลับ มีไหล่ทาง สร้างเกาะกลางถนนแบ่งทิศทางช่องจราจร 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.เกาะกลางแบบเกาะยก เน้นก่อสร้างบริเวณย่านชุมชน จุดตัดทางร่วมทางแยก จุดกลับรถ และ 2.เกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีต(แบริเออร์)หุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (Rubber Fender Barrier : RFB)เน้นก่อสร้างบริเวณนอกเขตเมือง เนื่องจากมีรถขนาดใหญ่ เช่น รถบรรทุกสัญจรค่อนข้างหนาแน่น เพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวก และไฟฟ้าส่องสว่างคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

โครงการนี้ได้ดำเนินการสร้างเกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีตหุ้มยางพาราที่เป็นไปตามโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมาชาติหุ้มกำแพงคอนกรีต(Rubber Fender Barrier : RFB)และหลักนำทางยางธรรรมชาติ(Rubber Guide Post : RGP)บนถนนของ ทล. ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ที่จะช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และยังช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในช่วงราคายางที่ตกต่ำ และสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ แขวงทางหลวงนครราชสีมาที่ 2 ร่วมกับศูนย์สร้างทางหล่มสัก จัดประชุมการมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่แล้ว เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนเห็นด้วยให้ก่อสร้างขยายช่องทางจราจรเป็น 4 ช่องจราจร มีเกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีตหุ้มยางพารา เพื่อรองรับการเดินทางประชาชนให้สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งในระหว่างดำเนินการขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้เส้นทางเป็นหลักด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับทางหลวงหมายเลข 2256 ตอนปางโก-กุดม่วง เป็นทางสายรองที่เป็นสายหลักใช้เลี่ยงการคมนาคมในช่วงเทศกาล สัญจรไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)ปัจจุบันเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ไป-กลับ เป็นเส้นทางที่แคบ บางช่วงผิวทางชำรุด บางช่วงมีการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน ประกอบกับเป็นเส้นทางมีรถบรรทุกพืชผลทางเกษตรสัญจรเป็นประจำ อีกทั้งเป็นเส้นทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทุ่งกังหันลม เป็นต้น ทำให้มีปริมาณการจราจรสูง

เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะรองรับปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วยอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยในการสัญจรในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง ส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้านการเกษตร และการท่องเที่ยว ตลอดจนลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

You May Also Like

More From Author